Blog

วว. ร่วมแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด เพิ่มมูลค่า “ลำไย” ด้วยเทคโนโลยีพร้อมใช้ ตอบโจทย์ประเทศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ในฐานะหน่วยงานวิจัยและพัฒนาของประเทศ ยกทัพเทคโนโลยีพร้อมใช้ร่วมแก้ปัญหาผลผลิตลำไยล้นตลาด ระบุเป็นนวัตกรรมตอบโจทย์เกษตรกร ผู้ประกอบการ พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เชิงสังคมและพาณิชย์ สู่การกระจายรายได้ ความเจริญไปสู่ภาคส่วนต่างๆ ของประเทศอย่างทั่วถึงศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า ลำไยเป็นไม้ผลเศรษฐกิจสำคัญที่รัฐบาลจัดให้อยู่ในกลุ่มสินค้าเพื่อการส่งออก โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม ฮ่องกง สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา และประเทศแถบยุโรป ทั้งนี้ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกลำไยกระจายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แหล่งปลูกที่สำคัญคือ จังหวัดทางภาคเหนือตอนบน จากการส่งเสริมการปลูกทำให้ปริมาณลำไยสดมีปริมาณมากในฤดูกาลผลผลิต ส่งผลให้ราคาตกต่ำ ดังนั้นเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลผลิตจึงมีการนำลำไยที่เหลือจากการขายสดมาแปรรูป สร้างมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาสำหรับบริโภคภายในประเทศ วว. ในฐานะหน่วยงานวิจัยและพัฒนาของประเทศมีความพร้อมในเทคโนโลยีพร้อมใช้ ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวและเสริมความเข้มแข็งให้กับเกษตรไทย ผู้ประกอบการ ผ่านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศและพื้นที่ ให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ บริการใหม่ และเกิดคุณค่าใหม่ ซึ่งจะทำให้มีการกระจายรายได้และความเจริญไปสู่ภาคส่วนต่างๆ อย่างทั่วถึง ดังนี้เครื่องมือช่วยเก็บลำไย ทำงานโดยใช้แรงบีบ ไม่ใช้กำลังมอเตอร์ ประกอบด้วยแขนต่อช่วยเก็บลำไยและรถกระเช้าเก็บลำไย เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีความสะดวกและรวดเร็วในการเก็บผลผลิตลำไยในรัศมี 2 เมตร ลดความถี่ในการเก็บผลผลิตโดยไม่ต้องปีนขึ้นไปเก็บหลายๆ รอบ จากเดิมเกษตรกรจะใช้ไม้เก็บซึ่งจะเก็บได้ในรัศมี 1 เมตรเท่านั้นเครื่องคัดขนาดลำไย อัตราการคัดขนาดเท่ากับ 200 – 500 กิโลกรัมต่อชั่วโมง มีค่าความแม่นยำในการคัดขนาดมากกว่า 90 % โดยไม่ทำให้ผลลำไยช้ำและเสียหาย ใช้หลักการสายพานลำเลียงเจาะรูตามขนาดมาตรฐาน คัดขนาดแบบรูปทรงและแบ่งขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางแตกต่างกัน โดยอาศัยความแตกต่างของผลลำไยที่ผ่านการตัดขั้วแล้วเครื่องคั้นน้ำลำไยพร้อมแยกเมล็ด เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเพิ่มมูลค่าและแปรรูปลำไยเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพหรือเครื่องสำอาง สามารถคั้นน้ำลำไยพร้อมแยกเนื้อและเมล็ดได้ในขั้นตอนเดียว โดยไม่ทำให้เมล็ดแตกซึ่งอาจส่งผลต่อรสชาติได้มีอัตราการทำงาน 200 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ประยุกต์ใช้กับผลไม้ได้หลากหลายชนิด เช่น แบบกรองหยาบเหมาะสำหรับใช้คั้นน้ำลำไย มะม่วง และแบบกรองละเอียดเหมาะสำหรับใช้คั้นน้ำลองกอง มังคุด กระท้อน เป็นต้นเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ระบบบาร์โคดตรวจสอบสินค้าย้อนกลับลำไยสด เป็นระบบที่เพิ่มความสมบูรณ์ให้ระบบจัดการคุณภาพลำไยสดที่มีอยู่แล้วให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตรงตามระเบียบความต้องการของ EU ระบบรองรับการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารและการจัดการไปได้ในเวลาเดียวกัน โดยข้อมูลต่างๆ ที่ถูกบรรจุเข้าไปในระบบการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าประกอบไปด้วย ฐานข้อมูล 3 ส่วน อันได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลของผู้ผลิตลำไย ประกอบด้วย ชื่อและหมายเลขประจำตัวชาวสวน ข้อมูลการจัดการสวน หมายเลขทะเบียนการจัดการสวนที่ดี (GAP) ซึ่งชาวสวนได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมวิชาการเกษตร ส่วนที่ 2 เป็นข้อมูลของผู้ประกอบการส่งออก ประกอบด้วย ชื่อบริษัทผู้ส่งออก หมายเลขทะเบียนโรงคัดบรรจุ เลขทะเบียนอนุญาตโรงอบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ชื่อผู้นำเข้าและประเทศผู้นำเข้า รวมทั้งบรรจุข้อมูลต่างๆ ในระบบบัญชี และ ส่วนที่ 3 เป็นข้อมูลของสินค้า ประกอบด้วย วันที่ทำการเก็บเกี่ยว วันที่ส่งขาย ปริมาณสินค้า เกรดและมาตรฐานของสินค้า กรรมวิธีการอบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เช่น อัตราซัลเฟอร์ฯที่ใช้ หมายเลขห้องที่อบ ปริมาณสินค้าที่อบในแต่ละครั้ง ระยะเวลาในการอบ ชื่อผู้ควบคุมกระบวนการอบ ปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ตกค้างในผลลำไย หมายเลขห้องเย็นที่ใช้เก็บ วันที่บรรจุเข้าตู้เรือ หมายเลขตู้เรือ และข้อมูลบริษัทเรือ เป็นต้นโรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ยืดอายุลำไยเพื่อการส่งออก เป็นโครงสร้างพื้นฐานตั้งอยู่ที่จังหวัดลำพูนและเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีของ วว. ในด้านการรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์เพื่อยืดอายุและรักษาคุณภาพลำไยเพื่อการส่งออก มีประสิทธิภาพควบคุมปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างในเนื้อลำไยได้ ช่วยลดการใช้กำมะถัน ลดปริมาณการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีกำลังการผลิต 72 ตันต่อวัน ช่วยยืดอายุการเก็บผลลำไยหลังการเก็บเกี่ยวได้นานขึ้น 30-45 วัน ให้บริการครบวงจรในการรมและการควบคุมปริมาณซัลเฟอร์ฯ มีระบบห้องเย็นเพื่อใช้ในการจัดเก็บลำไยในช่วงที่มีปริมาณผลผลิตออกมามาก และมีห้องปฏิบัติการในการวิจัยและวิเคราะห์ทดสอบด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับมาตรฐานและขีดความสามารถในการส่งออกลำไยการแปรรูปผลผลิต “ลำไยอบแห้งสอดไส้” เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยยืดอายุและเพิ่มมูลค่า โดยการนำเนื้อลำไยแช่น้ำเชื่อม จากนั้นนำมาสอดไส้และอบแห้ง ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีลักษณะทรงกลม เนื้อสัมผัสภายในนุ่ม ชุ่มน้ำหวาน ไม่แข็งกระด้าง รสชาติอร่อย ในกระบวนการผลิตนอกจากจะได้ผลิตภัณฑ์ลำไยแห้งสอดไส้แล้ว ยังได้ผลิตภัณฑ์พลอยได้จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ คือ น้ำลำไยเข้มข้นหรือวุ้นลำไยอบแห้ง ที่สามารถผลิตจำหน่ายในเชิงการค้าหรือรับประทานในครัวเรือน โดยเฉพาะในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 จะเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ที่มั่นคงวว. พร้อมเป็นหุ้นส่วนความสำเร็จของเกษตรกร ผู้ประกอบการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเทคโนโลยีพร้อมใช้และขอรับบริการจาก วว. ได้ที่ โทร. 0 2577 9000 โทรสาร 0 2577 9009 หรือที่ E- mail : tistr@tistr.or.th

https://lifeandsciencenews.com/?p=3624

“เอนก” มอบ ทปษ. ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสนามม.นเรศวร

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มอบหมายให้รองศาสตราจารย์ ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชรง ที่ปรึกษาลงพื้นที่ติดตามการดำเนินการของโรงพยาบาลสนาม มหาวิทยาลัยนเรศวร ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร รศ.ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับนายพิศิษฐ์ กิจบุญอนันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก นายแพทย์อิ๊ดยังวัน ยงย่วน รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (ด้านเวชกรรมป้องกัน 1) ลงพื้นที่ตรวจความพร้อมโรงพยาบาลสนาม  (NU Hospitel) ในเฟสแรก จำนวน 130 เตียง โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.จิรวัฒน์ พิระสันต์ รองอธิการบดี  (กำกับดูแลงานกิจการนิสิต) ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงรสสุคนธ์ คชรัตน์ รองคณบดีฝ่ายการแพทย์ ให้การต้อนรับ   ความพร้อมของมหาวิทยาลัยนเรศวรในการดูแลนิสิต บุคลากร และประชาชน ในเขตพื้นที่รอบมหาวิทยาลัย ทางมหาวิทยาลัยมีความพร้อมทุกด้าน โดยมหาวิทยาลัยนเรศวรมีศักยภาพในการรองรับผู้ติดเชื้อ COVID–19 ใน 3 ส่วนได้แก่         1.  หอผู้ป่วยรวมชนิดแรงดันลบ (Cohort Ward) ที่หอผู้ป่วยชั้น 5 อาคารสิรินธร โดยใช้ห้องแรงดันลบ (Negative Pressure Room) มีจำนวน  8 ห้อง สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการมากต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด โดยนำเทคโนโลยีไร้สาย IoT (Internet of things) มาใช้ในการบันทึกการวัดสัญญาณชีพ แบบทันที…

อว. เปิดโรงพยาบาลสนาม มทร. ธัญบุรี รองรับผู้ป่วยโควิด-19

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดพิธีเปิดโรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 โดย ศาตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์  ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  เป็นประธานเปิดพร้อมตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ ศาตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  กล่าวว่า ในการดำเนินงานเรื่องของโควิด ทางสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ วช. กระทรวงอว. ได้มีบทบาทสำคัญมาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ตั้งแต่ช่วงแรกของการระบาดในช่วงเดือนมกราคม ปี 2563 เราได้มีการปรับสถานการณ์ปรับการดำเนินงานตามแต่ละระยะ ในช่วงต้นๆเลยวช.เกี่ยวข้องมาก เนื่องจากประเทศขาดข้อมูล ดังนั้นเราดำเนินการเรื่องข้อมูล ว่าโควิดคืออะไรแน่ ติดต่ออย่างไร ระบาดอย่างไร จะดูแลอย่างไร จะป้องกันอย่างไร ช่วงต้นเป็นการดำเนินงานเรื่องข้อมูล ต่อมาเมื่อมีผู้ติดเชื้อในประเทศไทย ซึ่งตอนนั้นจำได้มีไม่กี่คน  และก็เริ่มมีผู้ติดเชื้อมากขึ้นเรื่อยๆ การทำงานของวช.ก็ปรับเพิ่มในเรื่องของข้อมูลเป็นการที่จะดูแลให้แน่ใจว่าประเทศไทยมีศักยภาพมีกำลังเพียงพอที่จะดูแลไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือหรือเวชภัณฑ์ต่างๆ เราก็เห็นกิจกรรมที่วช.ทำได้แก่การสนับสนุนให้มีการพัฒนาหน้ากากอนามัย การพัฒนาห้องความดันลบ การพัฒนาชุดการตรวจวินิจฉัย และก็การพัฒนาให้แน่ใจว่าเรามีเครื่องช่วยหายใจที่เป็นกิจกรรมที่ทางวช.ทำงาน ในขณะนี้ซึ่งเป็นระยะที่เข้าสู่การระบาดรอบใหญ่ก็จะมีเรื่องของการดำเนินงานเพื่อที่จะให้แน่ใจว่าเรามีสถานที่พยาบาลมีที่รองรับ มีที่พักที่จะดูแลผู้ติดเชื้อ จะเห็นการขยายการดำเนินงานเพิ่มเติมจากด้านข้อมูล เพิ่มเติมจากด้านยาเวชภัณฑ์อุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้เข้าไปสู่การเตรียมการให้แน่ใจว่าเรามีโรงพยาบาลสนาม มีสถานที่ในการบริหารจัดการและก็ดูแลผู้ติดเชื้อ ก็จะเห็นว่าในการระบาดของโควิด ภาควิจัย…

สวทช.-จุฬาฯ-วท.กห. ชูนวัตกรรม ‘แบตเตอรี่สังกะสีไอออน’ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยไร้ระเบิด 

เมื่อเร็วๆ นี้ ภายในงานประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2564 หรือ NAC2021 ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (NSD) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดสัมมนาช่องทางออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.nstda.or.th/nac ในหัวข้อ นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัยทางเลือกใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม (วท.กห.) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อพัฒนา “แบตเตอรี่สังกะสีไอออน” แบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (NSD) สวทช. กล่าวว่า ทุกวันนี้แบตเตอรี่ที่นิยมใช้เชิงพาณิชย์คือแบตเตอรี่แบบลิเทียมไอออน เพราะเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการกักเก็บพลังงานสูงที่สุดเมื่อเทียบต่อน้ำหนักของแบตเตอรี่ เหมาะต่อการใช้งานกับอุปกรณ์ที่ต้องเคลื่อนย้ายพกพาได้สะดวก แต่ยังมีข้อจำกัดคือปัญหาด้านความปลอดภัย เนื่องจากการผลิตแบตเตอรี่ชนิดนี้ใช้อิเล็กโทรไลต์อินทรีย์ซึ่งเป็นพิษและไวไฟ สามารถระเบิดได้ นอกจากนี้แบตเตอรี่แบบลิเทียมไอออนยังมีส่วนผสมของโลหะหนัก ปัจจุบันใช้วิธีกำจัดด้วยการฝังกลบ แต่หากมีการใช้จำนวนมาก ย่อมมีโอกาสเกิดการรั่วไหลของสารพิษออกสู่สิ่งแวดล้อมได้ “ไม่เพียงปัญหาด้านความปลอดภัย การพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่แบบลิเทียมในประเทศไทยยังต้องอาศัยการพึ่งพาต่างประเทศเป็นหลัก เพราะประเทศไทยไม่มีแหล่งผลิตแร่ลิเทียม ต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด ขณะเดียวกันทรัพยากรแร่ลิเทียมยังเป็นแร่หายาก หากมีความต้องการใช้ในปริมาณมากเพื่อสร้างระบบกักเก็บไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน รวมถึงการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า อาจจะทำให้เกิดภาวะขาดแคลน และเกิดการขัดแย้งแย่งชิงทรัพยากรในอนาคต” ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ นักวิจัยศูนย์ NSD สวทช.…

วช. จับมือ ศสอ. วางกรอบการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และของเสียอันตรายชุมชน

    ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี จากรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ คาดการณ์ว่าในปี 2563 ประเทศไทยมีปริมาณของเสียอันตรายจากชุมชนเกิดขึ้นประมาณ 656,651 ตัน (เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ร้อยละ 1.6) โดยเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ 428,113 ตัน (คิดเป็นร้อยละ 65 ของของเสียอันตรายทั้งหมด) แต่เนื่องด้วยการจัดการไม่มีระบบการจัดการที่เหมาะสมตั้งแต่บ้านเรือนจนถึงปลายทาง ส่งผลให้ปัญหาการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เพื่อให้การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องสนับสนุนและส่งเสริมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และของเสียอันตรายชุมชนทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นทาง จนถึงการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ปลายทาง ดังนั้น ทางสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จึงได้สนับสนุนทุนวิจัยแก่ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ “แผนงานวิจัยท้าทายไทย: การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และของเสียอันตรายชุมชน ระยะที่ 1  โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562 โดยมี 4 เป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาวงจรและจัดทำระบบฐานข้อมูลขยะอิเล็กทรอนิกส์และของเสียอันตรายชุมชน 2) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการรวบรวมและขนส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ และของเสียอันตรายชุมชน 3) เพื่อพัฒนาแนวทางและรูปแบบในการเสริมสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมจากการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และของเสียอันตรายชุมชนอย่างถูกต้อง และ 4)…

วช. มอบรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2564 แก่นักวิจัย ม.ธรรมศาสตร์

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดกิจกรรมแถลงข่าว NRCT TALK “เปิดบ้านงานวิจัยและนวัตกรรม By NRCT (In-House): 1 ในนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 (ครั้งที่ 5)” เชิดชูเกียรตินักวิจัยไทยที่มีผลงานโดดเด่น สร้างคุณูปการให้วิชาการและประเทศชาติ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดกิจกรรมแถลงข่าว NRCT TALK “เปิดบ้านงานวิจัยและนวัตกรรม By NRCT (In-House): 1 ในนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการสร้างแรงจูงใจของนักประดิษฐ์ และนักวิจัยในอันที่จะพัฒนานวัตกรรมทางความคิด และภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์ สร้างความก้าวหน้าในศาสตร์แขนงต่าง ๆ ซึ่งในวันนี้ วช. ได้มีการเปิดตัว 1 นักวิจัย ผู้ที่ได้รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 จากจำนวน 7 ท่าน ใน 5 สาขา ได้แก่…

“เอนก” ลงพื้นที่ เยี่ยม รพ.สนาม ที่ มศว.องครักษ์ นครนายก ซึ่งจะเปิดรับตั้งแต่ 18 เม.ย.นี้ ชี้ถึงจะมีผู้ป่วยใหม่เป็นพันรายต่อเนื่องหลายสัปดาห์ รับมืออยู่แน่นอน วอนประชาชนอย่าวิตกกังวล

ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) พร้อมปลัดกระทรวงและผู้บริหาร ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ที่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(มศว.) องครักษ์ จ.นครนายก โดยมี รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนะกุล อธิการบดี มศว. ผศ.พญ.นันทนา ชุมช่วย ผอ.โรงพยาบาล ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พญ.อมรรัตน์ จันทร์เพ็ญ นายแพทย์สาธาณรสุขจังหวัดนครนายก เข้าร่วม ทั้งนี้ ผศ.พญ.นันทนา กล่าวว่า มศว.ได้เตรียมโรงพยาบาลสนามไว้ จำนวน 200 เตียง โดยจะเปิดให้บริการในวันที่ 18 เม.ย.เป็นต้นไป ซึ่งการระบาดของโควิด – 19 ระลอกที่ 3 ถือว่าค่อนข้างหนัก โดยโรงพยาบาลสนามของ มศว. จะรับผู้ป่วยจากโซน จ.ปทุมธานีและ กทม.เป็นหลัก รวมทั้งนิสิตของมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลสนาม มีศักยภาพสามารถตรวจคัดกรองผู้ป่วยโควิดรู้ผลได้ภายใน 6 ชั่วโมง มีพยาบาล จำนวน 59 คน…

Loading…

Something went wrong. Please refresh the page and/or try again.


Follow My Blog

Get new content delivered directly to your inbox.

Design a site like this with WordPress.com
Get started